ปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง ทำได้ไหม? ข้อดี-ข้อเสีย พร้อมวิธีทำ
S.J.Sourcing สรุปให้
- การปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้องสามารถทำได้ ถ้าพื้นกระเบื้องเดิมเรียบ ไม่มีรอยแตก และยังยึดเกาะกับพื้นปูนได้ดี
- ข้อดีคือ ไม่ต้องเสียค่ารื้อพื้นเดิม ติดตั้งเร็ว ลดฝุ่นและเสียงรบกวน
- ข้อเสียคือ หลังปูลามิเนตทับกระเบื้องพื้นจะสูงขึ้น มีปัญหาเรื่องความชื้น และอายุการใช้งานสั้นกว่าการปูใหม่
- พื้นเดิมต้องเรียบ ค่าต่างระดับไม่เกิน 3 มม. และไม่มีความชื้นสะสม
- จำเป็นต้องใช้แผ่นโฟมรองพื้นคุณภาพดี เพื่อป้องกันความชื้นและเสียงสะท้อน
การปรับปรุงบ้านให้ดูดีเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการ แต่การรื้อพื้นกระเบื้องเดิมออกเป็นงานที่ยาก สร้างฝุ่น และมีราคาใช้จ่ายสูง "วิธีปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง" จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเจ้าของบ้านที่ต้องการเปลี่ยนลุคห้องแบบเร็ว ๆ ด้วย พื้นลามิเนต โดยไม่ต้องรื้อพื้นเดิมค่ะ
สารบัญ
- S.J.Sourcing สรุปให้
- ข้อดีและข้อเสียการปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง
- พื้นกระเบื้องแบบไหนที่ เหมาะ/ไม่เหมาะ สำหรับปูพื้นลามิเนตทับ?
- ขั้นตอนการปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง
- สรุป
ข้อดีและข้อเสียการปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง
การปูพื้นลามิเนตทับเกระเบื้องมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจ เพื่อให้เข้ากับความต้องการและสภาพของพื้นเดิม
ข้อดี | ข้อเสีย |
|
|
พื้นกระเบื้องแบบไหนที่ เหมาะ/ไม่เหมาะ สำหรับปูพื้นลามิเนตทับ?
การปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง ไม่ใช่วิธีที่เหมาะกับทุกสภาพพื้น งานจะออกมาดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นกระเบื้องเดิมเป็นหลัก การประเมินสภาพพื้นก่อนเริ่มงานจึงเป็นขั้นตอนที่จำเป็น เพื่อให้ทราบว่าพื้นกระเบื้องเดิมพร้อมสำหรับการปูทับหรือไม่
สภาพพื้นกระเบื้องที่พร้อมปูพื้นลามิเนตทับ
- พื้นกระเบื้องต้องมีความเรียบ ไม่มีการยกตัว โก่ง หรือมีส่วนที่นูนขึ้นมา ค่าต่างระดับไม่ควรเกิน 3 มม.
- กระเบื้องยึดเกาะกับพื้นปูนได้ดี ไม่มีกระเบื้องหลุดล่อน หรือมีเสียงโปร่งเมื่อเคาะ
- กระเบื้องไม่มีรอยแตกร้าวที่เห็นได้ชัด หรือมีรอยร้าวแค่เล็กน้อยที่สามารถซ่อมแซมได้
- พื้นแห้งสนิท ไม่มีความชื้นสะสม หรือปัญหาน้ำรั่วซึม
- พื้นสะอาด ไม่มีคราบน้ำมัน สารเคมี หรือคราบสกปรกที่ทำความสะอาดยาก
- เป็นพื้นกระเบื้องเรียบประเภทมัน เช่น กระเบื้องแกรนิต กระเบื้องเซรามิค
สภาพพื้นกระเบื้องที่ไม่พร้อม
- พื้นไม่เรียบ มีรอยต่อกระเบื้องที่ลึกหรือนูนสูงเกิน 3 มม.
- กระเบื้องมีรอยแตกขนาดใหญ่ หรือแตกร้าวหลายจุด
- มีกระเบื้องหลุดล่อนหลายจุด หลายแผ่นไม่ยึดติดกับพื้น มีเสียงโปร่งเมื่อเคาะ
- พื้นกระเบื้องที่มีความชื้นสะสม หรือเคยมีประวัติน้ำรั่วซึม
- กระเบื้องมีพื้นผิวขรุขระมาก เช่น กระเบื้องลายนูนสูง กระเบื้องหิน หรือกระเบื้องผิวสัมผัสหยาบ
- อยู่ในพื้นที่เปียกชื้น เช่น ห้องน้ำ ห้องซักล้าง หรือพื้นที่โดนน้ำบ่อย
- พื้นที่มีปัญหาปลวกหรือแมลงอื่น ๆ ควรแก้ไขปัญหาก่อนปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้องใหม่
การตรวจสอบสภาพพื้นกระเบื้องก่อนปู
ก่อนเริ่มปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง ควรตรวจสอบสภาพพื้นกระเบื้องเดิมอย่างละเอียด ดังนี้
- ตรวจสอบความเรียบของพื้น ใช้ไม้บรรทัดยาวหรือเส้นเอ็นวางทาบบนพื้น เพื่อดูว่ามีจุดที่นูนหรือเว้าเกินกว่ามาตรฐานหรือไม่
- เคาะกระเบื้องทุกแผ่น เพื่อเช็คการยึดเกาะของกระเบื้องกับพื้นปูน ถ้ามีเสียงโปร่งเวลาเคาะ แสดงว่ากระเบื้องยังยึดติดกับพื้นปูนได้ไม่ดี
- ตรวจหารอยแตกร้าว ส่องไฟหรือใช้น้ำฉีด เพื่อให้เห็นรอยแตกที่ไม่เห็นด้วยตาเปล่า
- วัดระดับความชื้น ใช้เครื่องวัดความชื้น หรือติดเทปพลาสติกบนพื้นทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ถ้ามีหยดน้ำเกาะใต้เทป แสดงว่าพื้นมีความชื้นสูง
- ตรวจยาแนวกระเบื้อง ยาแนวต้องอยู่ในสภาพดี ไม่ร่อน ไม่แตกเป็นรู
- วัดระดับความสูงของพื้น เพื่อให้แน่ใจว่าหลังปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้องจะไม่มีปัญหาเรื่องเปิดปิดประตู หรือระดับพื้นที่ต่างกับห้องอื่นมากเกิน
ถ้าพบปัญหา ก็ควรแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนเริ่มงานปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง เพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงามและมีความคงทนในการใช้งานระยะยาว
ขั้นตอนการปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง
การปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง เป็นงานที่ไม่ยากเกินสำหรับผู้ที่มีทักษะงานช่างพื้นฐาน แต่ต้องทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้ผลงานที่สวยและมีความคงทน ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้องอย่างละเอียดค่ะ
การเตรียมพื้นผิวกระเบื้อง
ขั้นตอนแรกคือ การเตรียมพื้นผิวกระเบื้องให้พร้อมสำหรับการปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง
- ทำความสะอาดพื้นให้สะอาด ปราศจากฝุ่น คราบสกปรก และฝุ่นละอองในรอยต่อระหว่างกระเบื้อง
- ถ้าพบรอยแตกเล็กน้อย ให้ซ่อมด้วยอีพ็อกซี่ หรือวัสดุอุดรอยแตกสำหรับกระเบื้องโดยเฉพาะ
- ตรวจสอบยาแนวและซ่อมส่วนที่ร่อนหรือแตกหัก
- กรณีมีจุดที่นูนหรือเว้ามากเกิน ให้ใช้สารปรับระดับพื้น (self-leveling compound) เพื่อปรับพื้นให้เรียบสม่ำเสมอ
- หลังจากทำความสะอาดหรือซ่อมแซมพื้น ต้องรอให้พื้นแห้งสนิทอย่างน้อย 24 - 48 ชั่วโมง
- สำหรับกระเบื้องที่มีผิวมันวาว อาจใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียดขัดผิวให้หยาบเล็กน้อย เพื่อช่วยให้แผ่นโฟมรองพื้นยึดเกาะได้ดีขึ้น
การติดตั้งแผ่นโฟมรองพื้น
แผ่นโฟมรองพื้นจำเป็นมากในการปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง เพราะทำหน้าที่รองรับและปรับระดับพื้น รวมถึงป้องกันความชื้นและลดเสียงสะท้อน
- เลือกแผ่นรองพื้นที่คุณภาพดี มีคุณสมบัติป้องกันความชื้น และมีความหนาที่เหมาะสม (ประมาณ 2-3 มม.)
- ถ้าพื้นเดิมอยู่ในบริเวณที่น่าจะมีความชื้นสูง ควรปูแผ่นกันความชื้น (moisture barrier) ก่อนปูแผ่นโฟมรองพื้น
- ถ้าจะวางลามิเนตในแนวยาวของห้อง ให้วางแผ่นโฟมในแนวขวาง
- ปูแผ่นโฟมให้ชิดกันแต่ไม่ซ้อนทับกัน เพื่อไม่ให้เกิดการนูนขึ้น
- ใช้เทปกาวพิเศษติดรอยต่อระหว่างแผ่นโฟม เพื่อป้องกันความชื้นและไม่ให้แผ่นโฟมเคลื่อน
- ตัดแผ่นโฟมให้พอดีกับขอบห้อง เว้นระยะห่างจากผนังประมาณ 8-10 มม. เพื่อรองรับการขยายตัวของไม้
การปูพื้นลามิเนต
หลังจากเตรียมพื้นและปูแผ่นโฟมรองพื้น ก็เริ่มขั้นตอนการปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้องค่ะ
- กำหนดทิศทางการปู ส่วนมากจะปูขนานกับแสงที่เข้ามาในห้อง หรือตามความยาวของห้อง
- เว้นระยะห่างจากผนัง ประมาณ 8-10 มม. เพื่อรองรับการขยายตัวของไม้เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
- เริ่มปูแผ่นแรกจากมุมห้อง โดยให้ด้านที่มีลิ้นหันเข้าหาผนัง
- ล็อคแผ่นลามิเนตเข้าด้วยกัน ปูแผ่นต่อ ๆ ไปโดยล็อคลิ้นและร่องเข้าด้วยกัน ตามคำแนะนำของผู้ผลิต (แบบคลิกล็อค หรือแบบตีเข้าล็อค)
- ใช้บล็อคไม้และค้อนยางเคาะเบา ๆ เพื่อให้แผ่นลามิเนตล็อคกันสนิท ไม่ควรเคาะที่ขอบลามิเนตโดยตรง
- วัดและตัดแผ่นสุดท้ายของแต่ละแถวให้พอดี เว้นระยะห่างจากผนัง 8-10 มม.
- เริ่มแถวถัดไปด้วยเศษที่เหลือ ใช้เศษจากแผ่นสุดท้ายของแถวแรกมาเริ่มแถวที่สอง (ถ้ามีความยาวมากกว่า 30 ซม.)
- จัดให้รอยต่อของแต่ละแถวสลับกัน อย่างน้อย 30 ซม. เพื่อความแข็งแรงของพื้น
- ใช้ลิ่มพลาสติกหนุนที่ขอบผนัง เพื่อรักษาระยะห่างที่เหมาะสม
การเก็บงาน
หลังจากปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง ก็เก็บงานให้เรียบร้อยเพื่อความสวยงามและความเรียบร้อยของพื้น
- เมื่อปูพื้นเสร็จทั้งห้อง ให้ถอดลิ่มที่ขอบผนังออกทั้งหมด
- ติดตั้งบัวเชิงผนังเพื่อปิดช่องว่างระหว่างพื้นกับผนัง ไม่ควรยึดบัวติดกับพื้นลามิเนต แต่ให้ยึดกับผนังเท่านั้น
- ติดตั้งคิ้วยางหรือคิ้วอลูมิเนียมตรงประตู หรือจุดเชื่อมต่อกับพื้นชนิดอื่น
- สำหรับท่อที่โผล่จากพื้น ให้เจาะรูที่มีขนาดใหญ่กว่าท่อประมาณ 16-20 มม. เพื่อรองรับการขยายตัว
- ตรวจเช็คและแก้จุดที่แผ่นลามิเนตล็อคไม่สนิทหรือมีปัญหา
- ทำความสะอาดพื้นให้เรียบร้อยก่อนเริ่มใช้งานพื้น
หลังการติดตั้ง ควรรอประมาณ 24-48 ชั่วโมง ก่อนเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์กลับเข้าที่ และติดแผ่นรองขาเฟอร์นิเจอร์ เพื่อป้องกันการขูดขีดบนพื้นลามิเนต
สรุป
การปูพื้นลามิเนตทับกระเบื้อง เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการปรับพื้นบ้านให้ดูใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรื้อพื้นเดิม แต่ผลลัพธ์ของงานจะขึ้นอยู่กับการเตรียมพื้นผิว และการปฏิบัติตามขั้นตอนการติดตั้งอย่างถูกวิธี จำเป็นที่สุดคือ การประเมินสภาพพื้นกระเบื้องเดิมก่อนเริ่มงาน พื้นกระเบื้องต้องเรียบ ไม่มีความชื้น ไม่มีรอยแตกร้าว และยังยึดเกาะกับพื้นปูนได้ดีค่ะ